พยาธิหนอนหัวใจภัยร้ายใกล้ตัวน้องหมา
- น.สพ. วัฒน์ธนกฤต ปรากฎผล (หมอแบงค์)
- 29 ก.พ. 2567
- ยาว 1 นาที
อัปเดตเมื่อ 9 ต.ค. 2567

“โรคพยาธิหนอนหัวใจ” เจ้าของน้องหมาทุกคนคงเคยได้ยินชื่อโรคนี้ผ่านหูกันบ่อย ๆ ใช่ไหมล่ะครับ แต่หลาย ๆ ท่านคงไม่ทราบว่าโรคนี้มันเกิดได้อย่างไร แล้วจะป้องกันต้องอย่างไร วันนี้หมอจะมาอธิบายให้ฟังครับผ
โรคพยาธิหนอนหัวใจ เป็นโรคที่มีความรุนแรงมากโรคะนึงโดยโรคนี้เกิดจากกาติด Dirofilaria immitis หรือ ที่เราเรียกกันว่าพยาธิหนอนหัวใจนั่นแหละครับ โรคนี้ติดได้ในน้องหมาทุกพันธุ์และทุกช่วงอายุครับ โดยพาหะในการนำพยาธิ ก็คือ “ยุง” ซึ่งเมื่อสุนัขถูกยุงที่มีตัวอ่อนของพยาธิกัด ตัวอ่อนของพยาธิหนอนหัวใจก็จะเจริญเป็นตัวเต็มวัย แล้วไปอาศัยอยู่ในหัวใจห้องขวาล่าง ทำให้เกิดความผิดปกติต่าง ๆ ตามมา นอกจากนี้พยาธิหนอนหัวใจสามารถสืบพันธุ์และผลิตตัวอ่อนออกมาในกระแสเลือดของสุนัขได้ และเมื่อยุงมากัดสุนัขที่มีตัวอ่อน ก็จะนำพยาธิหนอนหัวใจไปติดสู่สุนัขตัวอื่นได้เช่นกัน
สังเกตได้อย่างไรว่าสุนัขของเรามีพยาธิหนอนหัวใจหรือไม่?
ความรุนแรงแรงของโรคพยาธิหนอนหัวใจขึ้นอยู่กับจำนวนพยาธิหนอนหัวใจตัวเต็มวัย ที่อยู่ในตัวสุนัข ถ้ามีจำนวนมากในหัวใจ หรือ
หลอดเลือดปอด ก็จะเกิดการอุดตันส่งผลให้หัวใจและระบบหมุนเวียนเลือดทำงานผิดปกติ หรืออาจจะรุนแรงจนเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวก็เป็นได้
อาการโรคพยาธิหนอนหัวใจที่พบได้ คือ
1.ซึม เบื่ออาหาร
2.หอบ เหนื่อยง่าย
3.ไอแห้ง
4.บวมน้ำ
5.ท้องมาน
อาการที่กล่าวมาข้างต้นอาจจะมีความคล้ายคลึงกับโรคอื่น ๆ เพื่อความถูกต้องในการวินิจฉัย ควรพาสุนัขที่มีอาการดังกล่าวเข้ารับการตรวจเพิ่มเติม เพื่อวินิจฉัยโรคและหาแนวทางการรักษาอย่างถูกต้อง
การรักษา โรคพยาธิหนอนหัวใจ
ขั้นตอนในการรักษาโรคพยาธิหนอนหัวใจมีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค มีการให้ยากำจัดพยาธิหนอนหัวใจตัวเต็มวัย ซึ่งอาจจะมีการให้ติดต่อกัน 2-3ครั้งขึ้นกับจำนวนพยาธิที่มีอยู่ในสุนัข แต่ถ้าสุนัขมีจำนวนพยาธิหนอนหัวใจจำนวนมากและอาการค่อนข้างรุนแรง อาจจะต้องมีการผ่าเอาพยาธิหนอนหัวใจออกบางส่วน ร่วมกับการฉีดยากำจัดพยาธิตัวเต็มวัย เพราะการตายของพยาธิตัวเต็มวัยที่เยอะมาก อาจจะทำให้เกิดการอุดตันเส้นเลือดและทำให้สุนัขเสียชีวิตได้ ในกรณีที่สุนัขมีภาวะหรืออาการอื่น ๆ ร่วมด้วยเช่นภาวะตับวาย ไตวาย ต้องรักษาจนอาการเหล่านี้ดีขึ้นก่อนจึง เข้าขั้นตอนการรักษาแบบปกติได้
การป้องกัน โรคพยาธิหนอนหัวใจ
เนื่องจากการติดพยาธิหนอนหัวใจทำให้เกิดภาวะต่าง ๆ ที่อันตรายกับตัวสุนัขมาก อาจจะทำให้ป่วยหนักหรืออาจจะถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นหมอแนะนำว่าควรป้องกันพยาธิหนอนหัวใจให้กับสุนัขทุกตัวนะครับ
พาหะนำโรคนี้ก็คือยุงใช่ไหมครับ การไม่ให้สุนัขโดนยุงกัดก็วิธีในการป้องกันอีกวิธีหนึ่งนะครับ เจ้าของอาจจะใช้ยาไม่ว่าจะเป็น สเปรย์ฉีดไล่ยุง ยาจุดกันยุง หรือ ยาหยดหลังที่สามารถกันยุงได้ นอกจากนี้หมอแนะนำให้ ลดการพาสุนัขออกไปในที่ ๆ มียุง ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เช่นที่น้ำขังเป็นต้น การติดมุ้งลวดก็ช่วยได้เช่นกันครับ
และในปัจจุบันนอกจากการป้องกันยุง ยังมีทางเลือกในการใช้ยาที่กำจัดตัวอ่อนของพยาธิหนอนหัวใจ ซึ่งการป้องกันยุงในประเทศไทยที่เป็นประเทศร้อนชื่นทำได้ค่อยข้างยาก ทางเลือกในการใช้ยาแบบนี้อาจจะตอบโจทย์เจ้าของหลาย ๆ ท่านมากกว่า
ยาในกลุ่มกำจัดตัวอ่อนพยาธิหนอนหัวใจที่นิยมใช้ เป็นยาในกลุ่ม macrocyclic lactone มีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความสะดวกในการใช้ของเจ้าของแต่ละท่าน ทั้งแบบหยด แบบกิน หรือแบบฉีด โดยทั่วไปแล้วยาแบบหยดและกินต้องใช้เป็นประจำทุกเดือน แบบฉีดจะเป็นรูปแบบที่ป้องกันได้ยาวนานถึง 12เดือน ซึ่งยาแต่ละรูปแบบอาจจะออกฤทธิ์กำจัดปรสิตอื่น ๆ ได้ อีกด้วย
การเลือกใช้ยากำจัดปรสิตควรศึกษารายละเอียดแต่ละผลิตภัณฑ์ และปรึกษาขอคำแนะนำในการใช้กับสัตวแพทย์ก่อนเสมอ เพื่อการเลือกผลิตภัณฑ์ให้ถูกต้อง และใช้ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพสามารถเริ่มโปรแกรมป้องกันพยาธิหนอนหัวใจได้ตั้งแต่อายุ 2 เดือน ในกรณีที่สุนัขโตแล้วและยังไม่เคยป้องกันพยาธิหนอนหัวใจมาก่อน ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยก่อนว่าสุนัขไม่ได้มีการติดพยาธิหนอนหัวใจไปก่อนหน้าแล้ว จึงค่อยเริ่มโปรแกรมป้องกัน
ท้ายนี้นะครับถ้าหาผลิตภัณฑ์ป้องกันพยาธิหนอนหัวใจ ไม่เจอ เข้ามาหาได้ที่ PET MED+ ทุกสาขา
ปรึกษาสัตวแพทย์ร้านขายยาสัตว์เลี้ยง Pet Med+ Pet Pharmarcy
แอดไลน์ @petmed หรือ Facebook : Petmedplus.official
Comments